Morocco โมร็อกโก

ราชอาณาจักรโมร็อกโก

Kingdom of Morocco


ข้อมูลทั่วไป

ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ                        

ตั้ง อยู่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ทิศเหนือติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกติดมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศใต้ติดสาธารณรัฐอิสลามมอริเตเนีย และทิศตะวันออกติดสาธารณรัฐแอลจีเรีย ลักษณะประเทศมีความหลากหลาย เป็นที่ตั้งของเทือกเขาที่สูงเป็นอันดับสองของแอฟริกา คือเทือกเขาแอตลาส และมีพื้นที่ครอบคลุมทะเลทรายซาฮาราบางส่วนด้วย ภูมิอากาศบริเวณชายฝั่งทะเลมีอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน แต่ทางตอนในของประเทศมีอากาศแห้งแล้งแบบทะเลทราย

ประชากร                                            

32.3 ล้านคน (ปี 2555) โดยเป็นชาวอาหรับ-เบอร์เบอร์ ร้อยละ 99  และอื่นๆ ร้อยละ 1

การเมืองการปกครอง                         

ประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
พระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน : สมเด็จพระราชาธิบดีโมฮัมเหม็ดที่ 6 (Mohammed VI) (เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2552)
นายก รัฐมนตรี คนปัจจุบัน : นาย อับเดลลิลลาห์ เบนคิราน (Abdelilah Benkirane) (ดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2554)                         

ภาษา                                                  

ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ ภาษาท้องถิ่นของชาวเบอร์เบอร์ (Berber) และภาษาฝรั่งเศสมีการใช้อย่างกว้างขวาง

ศาสนา                                                

อิสลามนิกายสุหนี่ ร้อยละ 98.7  คริสต์ ร้อยละ 1.1 ยูดาห์ ร้อยละ 0.2

 

ข้อมูลการค้าการลงทุน

ภาพรวม

โมร็อกโก มีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศประมาณ 96.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  (ปี 2555) รายได้ประชาชาติต่อหัวประมาณ 5,230 ดอลลาร์สหรัฐ และมีการขยายตัวทางธุรกิจประมาณร้อยละ 2.7 ซึ่งอุตสาหกรรมที่สำคัญของโมร็อกโกได้แก่ การเกษตร การประมง (โดยได้มีการลงนามความตกลงความเป็นหุ้นส่วนด้านการทำประมงกับสหภาพยุโรป) และการทำเหมือง (ฟอสเฟต) และการท่องเที่ยว (ซึ่งสมเด็จพระราชาธิบดีฯ ทรงให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก)

การค้า

ผลิตภัณฑ์ส่งออก ที่สำคัญของโมร็อกโก ได้แก่  ฟอสเฟต และผลิตภัณฑ์จากฟอสเฟต เสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (สายเคเบิ้ล สายไฟต่างๆ)  น้ำมันปิโตรเลียม และปลากระป๋อง เป็นต้น ในขณะที่ผลิตภัณฑ์นำเข้าที่สำคัญได้แก่ น้ำมันดิบ ข้าวสาลี พลาสติก และชิ้นส่วนพลาสติก รถยนต์ และผลิตภัณฑ์เคมี เป็นต้น คู่ค้าที่สำคัญได้แก่ ฝรั่งเศส สเปน สหรัฐฯ จีน และซาอุดิอารเบีย เป็นต้น ทั้งนี้ ตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในยุโรป โมร็อกโกพยายามที่จะเพิ่มความสัมพันธ์กับประเทศในตะวันออกกลาง และแอฟริกาให้มากขึ้น เพื่อขยายความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจกับประเทศเหล่านั้น

การลงทุน

โมร็อกโก มีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาหรับ คู่ค้าที่สำคัญของโมร็อกโกได้แก่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป นอกจากนี้ โมร็อกโกมีการลงนามเขตการค้าเสรีกับสหรัฐอเมริกาและตุรกี มี Association Accord กับ สหภาพยุโรป และได้รับสถานภาพพิเศษ (Advance Status) กับสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี  2552  นอกจากนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์  2555 สหภาพยุโรปได้ให้ความเห็นชอบกับความตกลง FTA เกษตรฯ ระหว่างสหภาพยุโรปกับโมร็อกโก โดยยุโรปเป็นทั้งตลาดส่งออกและตลาดแรงงานที่สำคัญ (มีชาวโมร็อกโกทำงานในกลุ่มประเทศยุโรป โดยเฉพาะสเปนและฝรั่งเศส มากกว่า 2.5 ล้านคน โดยรายได้จากแรงงานกลุ่มนี้ คิดเป็นประมาณร้อยละ 9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ)

นโยบายหลักในด้านเศรษฐกิจปัจจุบัน

โมร็อกโก มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจ Emergence II ซึ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน มุ่งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศและลดอัตราการว่างงานของคนภายในประเทศเป็น หลัก ประกอบด้วยนโยบายสำคัญ ดังต่อไปนี้
     - การสร้างที่อยู่อาศัยใหม่จำนวน 150,000 หน่วยต่อปี จนถึงปี 2558
     - การเสริมสร้างศักยภาพของภาคเกษตรและประมง
     - การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาพลังงานทดแทนจากพลังงานไฮโดรคาร์บอน

การค้ากับไทย

ปริมาณ การค้าระหว่างประเทศไทยกับโมร็อกโกยังมีมูลค่าไม่มากนัก แต่มีศักยภาพที่จะพัฒนาได้อีกมาก โดยในปี 2558 ทั้งสองประเทศมีมูลค่าการค้าระหว่างกัน คิดเป็นมูลค่ารวม 167.57 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 97.04 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 70.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้ดุลการค้า 26.51 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ที่มา กระทรวงพาณิชย์)

สินค้าที่ไทยนำเข้าจากโมร็อกโกที่สำคัญ ได้แก่ ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืช สัตว์น้ำสดและแช่แข็ง เสื้อผ้าสำเร็จรูป อุปกรณ์ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ แผงวงจรไฟฟ้า แร่/โลหะ และพืช/ผลิตภัณฑ์จากพืช

สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังโมร็อกโกที่สำคัญ ได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วน โทรทัศน์และชิ้นส่วนตู้เย็น/แช่แข็ง เครื่องปรับอากาศ เม็ดพลาสติก ด้าย/เส้นใยประดิษฐ์ และอาหารทะเลกระป๋อง

นอก จากนี้ ภาคเอกชนของไทยและโมร็อกโก ได้ลงนามความตกลงจัดตั้งสภาธุรกิจไทย-โมร็อกโก เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2551 โดยมีนายฉัตรชัย บุญรัตน์ รองประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเป็นประธานฝ่ายไทยและนายยูแนส ลารากี (Younès Laraqui) กงสุลกิตติมศักดิ์ไทยประจำเมืองคาซาบลังกาเป็นประธานฝ่ายโมร็อกโก

กฎระเบียบการทำธุรกิจ

โมร็อกโก มีนโยบายปกป้องธุรกิจและอุตสาหกรรมในประเทศ จึงได้มีการตั้งอัตราภาษีนำเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสินค้านำเข้าในอัตราสูง และมีกฎระเบียบเกี่ยวกับการนำเข้าค่อนข้างซับซ้อน และยุ่งยาก  การแลกเปลี่ยนเงินตราทำได้ค่อนข้างยาก โมร็อกโกมีกฎระเบียบในการแลกเปลี่ยนเงินที่เคร่งครัด

นโยบายส่งเสริมการลงทุน

ธุรกิจ ที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนในโมร็อกโก ได้แก่ ธุรกิจชิ้นส่วนรถยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องบิน (เป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูงมาก) การท่องเที่ยว การทอผ้าและเครื่องนุ่งห่ม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

กฏระเบียบเกี่ยว กับการลงทุนของโมร็อกโกค่อนข้างเสรี โดยผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ 100 % ไม่จำเป็นต้องมีผู้ร่วมทุนท้องถิ่น และสามารถลงทุนได้เกือบทุกสาขา ยกเว้นการซื้อที่ดินการเกษตร

The Moroccan Investment Development Agency –ADMI เป็นองค์กรของรัฐที่ดูแลเกี่ยวกับการลงทุนจากต่างชาติ โดยให้บริการในการให้คำแนะนำ และประสานงานเบื้องต้นเกี่ยวกับการก่อตั้งธุรกิจในโมร็อกโก

เอกชนที่ เข้ามาลงทุนในโมร็อกโกจะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าเป็นระยะเวลา 5 ปี และลดอัตราภาษีนำเข้าร้อยละ 17.5 หลังจาก 5 ปีแรก  เอกชนที่เข้ามาลงทุนมากกว่า 200 ล้านดีร์ฮาม จะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า (ในช่วงการก่อตั้งโรงงานหรือสถานที่) และ VAT (36 เดือนแรก)  สำหรับวัตถุดิบ และเครื่องมือต่างๆ

รัฐบาลโมร็อกโกได้ตั้ง Hassen II Economic and Social Development Fund  เพื่อส่งเสริมการลงทุนของต่างชาติ ในภาคอุตสาหกรรมที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกกรรมการประกอบอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับชิ้นส่วนเครื่องบิน การประกอบ และการดูแลรักษาเครื่องบิน อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับนาโนเทคโนโลยี ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีชีวภาพ สำหรับโครงการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมที่จำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยกองทุนจะสนับสนุนด้านการเงินการจัดซื้อที่ดิน ก่อสร้าง หรือซื้ออาคารสถานที่   โครงการลงทุนที่เข้าเงื่อนไข (เช่นลงทุนในพื้นที่ที่กำหนด มีการถ่ายทอดเทคโนโลยี และมีการลงทุนมากกว่า 200 ล้านดีร์ฮาม สามารถขอรับการสนับสนุนด้านการเงินและข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก Investment Promotion Fund (FPI)

ประเด็นท้าทายในการทำธุรกิจ

- ปัญหาคอรัปชั่น และความล่าช้าในการดำเนินงานของหน่วยงานยังคงเป็นปัญหาใหญ่ในการทำธุรกิจในโมร็อกโก
- คุณภาพของทรัพยากรบุคคลค่อนข้างต่ำ
- ไทยและโมร็อกโกยังไม่มีมาตรการด้านการค้าและการลงทุนที่เอื้อในการทำธุรกิจระหว่างกัน
- ภาษาราชการคือภาษาอาหรับและภาษาฝรั่งเศส อย่างไรก็ดี ในชีวิตประจำวัน ชาวโมร็อกโกทั่วไปใช้ภาษาอาหรับแบบโมร็อกโก ซึ่งผสมผสานกันระหว่างภาษาอาหรับ ฝรั่งเศส และภาษาพื้นเมือง
- ราคาเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อของของคนโมร็อกโก และสินค้าจากจีนมีราคาถูกกว่าสินค้าจากไทย
- สินค้าไทยยังคงไม่เป็นที่รู้จักในตลาดโมร็อกโก ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลาในการประชาสัมพันธ์และมีมาตรการส่งเสริมอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง