พลังงานทางเลือกในโมร็อกโก

พลังงานทางเลือกในโมร็อกโก

วันที่นำเข้าข้อมูล 5 เม.ย. 2556

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 4,800 view
  1. การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์

           - ในปี 2009 รัฐบาลโมร็อกโกได้ประกาศ Moroccan Solar Plan เนื่องจากโมร็อกโกเป็นประเทศที่มีแสงอาทิตย์มากกว่า 3000 ชั่วโมง/ปี  โดยแผนฯ มีจุดมุ่งหมายที่จะผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้ได้มากกว่าร้อยละ 40 ของพลังงานที่ใช้ในประเทศ โดยมุ่งให้ผลิตได้ 2000 MEGAWATT (MGW) ภายในปี 2020 จากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 5 แห่งผลิต ซึ่งผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ 100 % ได้แก่ ที่ Ouarzazate, Ain Bni Mathar, Foum Al Oued, Boujdour และ Sebkhat Tah โดยแห่งแรกจะเปิดในปี 2015 ในงบประมาณรวม 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

            - รัฐบาลโมร็อกโกพยายามที่จะชักชวนบริษัทต่างชาติให้เข้ามาร่วมลงทุนพัฒนาโรงผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์ และได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับพลังงานทดแทนเพื่อสนับสนุนเรื่องดังกล่าวเป็นการเฉพาะ รัฐบาลโมร็อกโกได้ตั้ง Moroccan Agency for Solar Energy เป็นหน่วยงานหลักเพื่อรับผิดชอบการดำเนินงาน ล่าสุดโมร็อกโกได้ลงนามใน MOU กับมูลนิธิ Desertec ของเยอรมันนีเพื่อเพิ่มความร่วมมือในการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทางตอนเหนือของโมร็อกโก เพื่อขายไฟฟ้าที่เหลือจากการบริโภคภายในให้แก่ประเทศในยุโรป   

            - ในขณะนี้ โมร็อกโกมีโรงงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์อยู่แล้วที่เมือง Ain Beni Mathar ใกล้เมือง Oudja ซึ่งเป็นความร่วมมือกับสเปน โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ร้อยละ 50 และพลังงานไอน้ำร้อยละ 50 เพื่อผลิตระแสไฟฟ้า ผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 200-250 MGW                 

  1. การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม

              - โมร็อกโกมีชายฝั่งยาวกว่า 3,500 กม. ซึ่งมีศักยภาพในการดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าจากลม รัฐบาลได้ประกาศโครงการ Moroccan Integrated Wind Energy Project ซึ่งมีระยะเวลา 10 ปี มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตจาก 280 MGW ในปี 2010 –เป็น 2000 MGW ในปี 2020 ด้วยงบประมาณ 31.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

             - โมร็อกโกพยายามสนับสนุนให้บริษัทเอกชนลงทุนสร้างกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้ในโรงงาน ผ่านโครงการ EnergiPro

รูปภาพประกอบ

รูปภาพประกอบ