สภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2564

สภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2564

วันที่นำเข้าข้อมูล 15 มิ.ย. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 379 view

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงราบัต ขอนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ ๑/๒๕๖๔ และแนวโน้มปี ๒๕๖๔ ดังนี้

สภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาส /๒๕๖๔ และแนวโน้มปี ๒๕๖๔

  • เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ /๒๕๖๔หดตัวร้อยละ . แต่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าเป็นผลจาก (๑) ด้านการใช้จ่าย มีแรงสนับสนุนสำคัญจากการกลับมาขยายตัวของการส่งออกสินค้า และการลงทุนจากภาคเอกชน รวมทั้งการขยายตัวต่อเนื่องของการใช้จ่ายรัฐบาลและการเร่งลงทุนของภาครัฐ ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวลดลงและการส่งออกบริการลดลงต่อเนื่อง (๒) ด้านการผลิต สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสาขาการก่อสร้างกลับมาขยายตัว ในขณะที่สาขาเกษตรกรรม สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร และสาขาการเงินขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนการผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาไฟฟ้าและก๊าซ และสาขาการขายส่ง/ขายปลีกลดลงต่อเนื่อง

๑.๑ การค้า – เกินดุล  ๗.๔  พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้า

  • การส่งออก – มูลค่าการส่งออก ๖๔,๐๐๔ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ ๕.๓ และปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ ๓.๑ ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยส่งออกไปยังสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น EU และออสเตรเลียขยายตัว ในขณะที่ส่งออกไปยังอาเซียนและตะวันออกกลางยังชะลอตัว
  • การนำเข้า – มูลค่าการนำเข้า ๕๖,๖๑๕ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ ๙.๕ และปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ ๖.๗ ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน และเป็นการกลับมาขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ ๙ ไตรมาส โดยเพิ่มขึ้นในเกือบทุกหมวดสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าทุน

๑.๒ การเงิน – ดอกเบี้ยนโยบายคงไว้ที่ร้อยละ  ๐.๕๐  ต่อปี เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังมีความเปราะบาง โดยเฉพาะกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้น้อย และกลุ่ม SMEs ทั้งนี้ นโยบายการเงินของไทยสอดคล้องกับประเทศเศรษฐกิจหลักและประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคที่ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ระดับเดิม

  • ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล ๖ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • เงินสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้น มี.ค. ๒๕๖๔ เพิ่มขึ้นเป็น ๒๔๕.๕ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

๑.๓ การคลัง – รัฐจัดเก็บรายได้สุทธิช่วง ๖ เดือนแรกของปีงบประมาณ ๒๕๖๔ ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ  ๑๐.๘ และต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ ร้อยละ ๑๐.๗ มีหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้น มี.ค. ๒๕๖๔ คิดเป็นร้อยละ ๕๓.๓ ของ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ร้อยละ ๖๐

๑.๔ การท่องเที่ยว – ปรับตัวลดลงร้อยละ  ๓๕.๐ มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพียง ๒๐,๑๗๒ คน และการท่องเที่ยวภายในประเทศลดลงร้อยละ ๕๑ ในไตรมาสนี้

๑.๕ การเกษตร – ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ ๑.๙ มีปัจจัยสนับสนุนจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยและปริมาณน้ำที่เพียงพอ สอดคล้องกับดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑.๓ ซึ่งส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้น

  • แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี ๒๕๖๔คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ .. ซึ่งเป็นการฟื้นตัวต่อเนื่องจากช่วงครึ่งหลังของปี ๒๕๖๓ อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ ๐ - ๒.๐ และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลที่ร้อยละ ๐.๗ ของ GDP

๒.๑ ปัจจัยสนับสนุน (๑) แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก (๒) แรงขับเคลื่อนจากภาครัฐจากการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีและมาตรการทางเศรษฐกิจต่าง ๆ และ (๓) การปรับตัวตามฐานการขยายตัวที่ต่ำกว่าปกติในปี ๒๕๖๓

๒.๒ ปัจจัยเสี่ยง (๑) ความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาดของโควิด-๑๙ ในประเทศและต่างประเทศจากการกลายพันธุ์ของไวรัสและความล่าช้าในการกระจายวัคซีน (๒) แนวโน้มความล่าช้าในการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว (๓) เงื่อนไขด้านฐานะการเงินของครัวเรือนและธุรกิจ ในสภาวะที่ตลาดแรงงานและกิจกรรมทางเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ (๔) ความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจและระบบการเงินโลก

ที่มาของข้อมูล: สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

รวบรวมโดย กองสนเทศเศรษฐกิจ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

พฤษภาคม ๒๕๖๔

 

Performance Economique de la Thaïlande

  • L'économie thaïlandaise s'améliore progressivement depuis le second semestre de l'année dernière. Au premier trimestre 2021, l'économie thaïlandaise s'est contractée de 2,6 % contre une contraction de 4,2 % au trimestre précédent. L'amélioration est le résultat de la croissance dans les secteurs comprenant : dépenses publiques, investissement privé, exportation, biens industriels et construction.
  • L'économie thaïlandaise devrait croître de 1,5 à 2,5 % en 2021, soutenue par la relance de l'économie mondiale, du volume du commerce mondial et des mesures de relance du gouvernement. Cependant, la vaccination est la clé de la relance économique, le gouvernement thaïlandais vise à vacciner 50 millions de personnes (70% de la population) d'ici la fin de l'année.
  • Malgré les perturbations causées par la pandémie, la Thaïlande reste une destination d'investissement attrayante selon de nombreuses enquêtes internationales. Classements de la Thaïlande :
    • 21e dans l'indice de facilité de faire des affaires de la Banque Mondiale
    • 40e au classement mondial de la compétitivité numérique d'IMD
    • 44e dans l'indice mondial de l'innovation de l'OMPI
    • 57e dans l'indice de développement du E-gouvernement du Forum économique mondial.

 

เอกสารประกอบ

Thailand_s_International_Ranking.pdf
Thailand_s_Economic_Factsheet.pdf
Thailand_s_Investment_policies.pdf