คำปราศรัย
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เนื่องในวันสหประชาชาติ
๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๕
พี่น้องชาวไทยที่รัก
- วันที่ ๒๔ ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันสหประชาชาติ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ โดยตลอดระยะเวลากว่า ๗๕ ปีของการเป็นสมาชิก ไทยได้แสดงบทบาทอย่างแข็งขัน และสร้างสรรค์ พร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับองค์การระหว่างประเทศในประเด็นที่ไทยมีศักยภาพ อาทิ การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เพื่อขับเคลื่อนและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ SDGs และการแสดงบทบาทนำด้านสาธารณสุขของไทยในเวทีโลก โดยร่วมกับองค์การอนามัยโลกจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และร่วมกับองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีในเด็กและเยาวชน
- ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังเผชิญกับผลกระทบหลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-๑๙ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ที่ต้องรับมือกับวิฤตเศรษฐกิจ การขาดแคลนอาหารและพลังงาน และความขัดแย้ง อีกทั้งภัยพิบัติต่าง ๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างประเมินค่ามิได้ ส่งผลให้เศรษฐกิจฟื้นตัวยาก และต้องการการช่วยเหลือเยียวยาผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ
- ผมขอย้ำว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับระบอบพหุภาคี ซึ่งมีสหประชาชาติเป็นแกนกลาง รวมทั้งพร้อมสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วน รวมไปถึงการใช้พลังและความคิดสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ มาร่วมกันออกแบบอนาคตที่ดีกว่าเดิม ผมเชื่อมั่นว่า ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันภายใต้กรอบสหประชาชาติ จะทำให้เรารอดพ้นจากวิกฤตต่าง ๆ ทั้งความท้าทายแบบดั้งเดิมและความท้าทายรูปแบบใหม่ พร้อมทั้งทำให้โลกของเรามีความสงบสุข ประชาชนมีความกินดีอยู่ดี และมนุษย์สามารถอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล
- สุดท้ายนี้ รัฐบาลไทยจะสนับสนุนภารกิจและวาระต่าง ๆ ของสหประชาชาติ รวมทั้งความร่วมมือกับองค์การนานาชาติอย่างแข็งขัน โดยขณะนี้ไทยได้ประกาศตัวสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ วาระปีคริสต์ศักราช ๒๐๒๕-๒๐๒๗ ผมขอย้ำว่า ความร่วมมือระหว่างประเทศเป็นหนทางที่จะช่วยเสริมสร้างให้โลกมีความผาสุข เป็นโลกที่น่าอยู่สำหรับพวกเราทุกคน และคนรุ่นหลังต่อไป ผมภูมิใจที่หน่วยงานต่าง ๆ ของสหประชาชาติเลือกประเทศไทยเป็นที่ตั้ง รวมถึง คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียและแปซิฟิก หรือ เอสแคป ซึ่งผมขอแสดงความยินดีกับการก่อตั้งครบ ๗๕ ปี ในโอกาสนี้ด้วย
- ขอบคุณครับ
L’allocution de Général Prayut Chan-O-Cha,
Premier ministre de Thaïlande
A la radio de Thaïlande à l’occasion de le Journée des Nations unies,
24 octobre 2022
Chers compatriotes thaïlandais,
- Le 24 octobre de chaque année est la Journée des Nations Unies, à laquelle la Thaïlande est membre à part entière depuis 1946. Durant plus de 75 ans d’adhésion, la Thaïlande a joué un rôle actif et constructif tout en échangeant ses expériences avec les organisations internationales en particulier dans l’adoption de la philosophie de l’économie de suffisance afin de conduire et d’atteindre les Objectifs de Développement Durable (ODD). La Thaïlande a également joué un rôle principal dans la santé publique sur la scène mondiale, en collaboration avec l’Organisation Mondiale de la Santé, dans l’organisation d’activités visant à promouvoir le système de couverture santé universelle, et en collaboration avec le Fonds des Nations Unies pour l’enfance (UNICEF) dans l’organisation d’activités visant à promouvoir la santé mentale des enfants et des jeunes.
- Actuellement, le monde est confronté aux répercussions de la pandémie de la COVID-19, en particulier dans les pays en développement, qui doivent faire face à des difficultés économiques, des pénuries alimentaires et énergétiques, des conflits ainsi que des catastrophes provoquées par le changement climatique, causant des dommages immesurables. Ces dommages rendent plus difficile à revitaliser l’économie et exigent une coopération internationale afin de les surmonter.
- Je voudrais préciser que la Thaïlande a donné une importance au système multilatérale dont les Nations Unies oeuvrent comme centre d’actions. La Thaïlande est prête à collaborer avec tous les secteurs incluant les forces et les créativités des jeunes citoyens pour créer un meilleur avenir. Je suis certain que la solidarité à travers les Nations unies nous aidera à esquiver les crises, les défis traditionnels et à obtenir un monde en paix, une population bien nourrit et vive en harmonie avec la nature.
- Finalement, le gouvernement thaïlandais continuera à soutenir ardemment aux missions et objectifs des Nations unies ainsi que pour d’autres organisations internationales. La Thaïlande a actuellement présenté sa candidature dans l’élection des membres du Conseil des droits de l’homme pour la période de 2025-2027. Je voudrais insister sur le fait que la coopération internationale reste une approche aidant à créer un monde paisible, meilleur pour tout le monde et les générations à venir. Je suis fier que la Thaïlande a été choisie par plusieurs entités des Nations unies pour installer leur bureaux dans la région incluant la Commission économique et sociale pour l’Asie et le Pacifique (ESCAP) dont je voudrais féliciter le 75 anniversaire de son instauration en Thaïlande cette année.
- Je vous remercie.