ร่างแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

ร่างแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

วันที่นำเข้าข้อมูล 26 ส.ค. 2564

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 29 พ.ย. 2565

| 784 view

ร่างแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. ๒๕๖๔-๒๕๗๐ (สถานะเมื่อวันที่ ๑๒ ก.ค. ๒๕๖๔) 

 ๑. แผนปฏิบัติการขับเคลื่อน BCG (Bio-Circular-Green Economy Model) ของไทยมีลักษณะเป็น living document โดยมีการปรับแก้อย่างต่อเนื่องซึ่งมีวิสัยทัศน์เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน การเพิ่มรายได้ประชาชน การยกระดับคุณภาพชีวิต การรักษาและฟื้นฟูฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยการใช้ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมและมุ่งบูรณาการการทำงานตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วยกลไกจตุภาคี (ภาครัฐ เอกชน ชุมชน และสถาบันวิจัย) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) อนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการการใช้ประโยชน์และเพิ่มพูนทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม (๒) สร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากร และ (๓) สร้างความสามารถในการพึ่งพาตนเองทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม สร้างภูมิคุ้มกัน ตลอดจนเพิ่มสมรรถนะในการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

๒. เป้าหมายและตัวชี้วัดภายในปี ๒๕๗๐

๒.๑ เพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ: เพิ่มมูลค่า GDP ของเศรษฐกิจ BCG ๑ ล้านล้านบาท เพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์และบริการ BCG ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ และเพิ่มรายได้ของเศรษฐกิจฐานรากไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐

๒.๒ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม: ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ๑๐ ล้านคนลดจำนวนผู้ประสบปัญหาขาดแคลนอาหารและทุพโภชนาการให้ต่ำกว่าร้อยละ ๕ เพิ่มจำนวนผู้เข้าถึงยา เวชภัณฑ์และเครื่องมือทางการแพทย์ในภาวะวิกฤตไม่น้อยกว่า ๓ แสนคน และเพิ่มจำนวนชุมชนที่มีความสามารถในการพึ่งพาตนเองด้านพลังงานร้อยละ ๒๐

๒.๓ สร้างความยั่งยืนของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม: ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติลงร้อยละ ๒๕ จากปัจจุบันลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ ๒๐-๒๕ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๘ และเพิ่มพื้นที่ป่า ๓.๒ ล้านไร่

๒.๔ การพึ่งพาตนเอง: มีจำนวนผู้ได้รับการพัฒนาทักษะไม่น้อยกว่า ๑ ล้านคนเพิ่มจำนวน startups และ innovation driven enterprises ด้าน BCG ไม่น้อยกว่า ๑ พันรายลดการขาดดุลการชำระเงินทางเทคโนโลยีไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ และลดปริมาณการนำเข้าผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และสุขภาพไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐

๓. แผนที่นำทาง (Roadmap) การขับเคลื่อน BCG แบ่งเป้าหมายการดำเนินงานเป็น ๓ ระยะ ได้แก่

๓.๑ ระยะที่ ๑ ปี ๒๕๖๔-๒๕๐๕ : (๑) ส่งเสริมให้จตุภาคีรับรู้และเข้าใจโมเดล BCG (๒) ปรับแผนการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับแผน BCG (๓) พัฒนาทักษะใหม่ให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการและ (๔) สร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อ BCG ด้วยกลไกการเงินการคลังการนำเข้าผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศการปรับแก้กฎหมายการจัดทำฐานข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพความหลากหลายทางวัฒนธรรมแหล่งท่องเที่ยวและบัญชีนวัตกรรมไทย

 ๓.๒ ระยะที่ ๒ ปี ๒๕๖๖-๒๕๖๔: (๑) เพิ่มสัดส่วนเกษตรกรและผู้ประกอบการที่ประยุกต์ใช้ BCG (๒) ขยายตลาดภายในประเทศสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการ BCG (๓) เพิ่มสัดส่วนมูลค่าผลิตภัณฑ์และบริการ BCG และ (๔) ขยายปริมาณการลงทุนในอุตสาหกรรม BCG เดิมและการลงทุนในอุตสาหกรรม BCG ใหม่

 ๓.๓ ระยะที่ ๓ ปี ๒๕๑๙-๒๕๗o: (๑) เพิ่มส่วนแบ่งตลาดผลิตภัณฑ์และบริการ BCG ในระดับภูมิภาคและโลก (๒) พัฒนาคุณภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (๓) ผลักดันให้ไทยมีบทบาทในการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์และบริการ BCG ในเวทีสากล (๔) นำระบบการผลิตและบริโภคยั่งยืนมาปรับใช้เพิ่มขึ้นและ (๕) มีโครงสร้างพื้นฐานขั้นแนวหน้าที่เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมและทำงานร่วมกับนานาประเทศ

๔. ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน BCG อาศัย ๔. ยุทธศาสตร์ดังนี้

๔.๑ สร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากรและความหลากหลายทางชีวภาพด้วยการจัดสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ โดยใช้ความรู้ STI และปรับ mindset จาก “Nature as Resource” สู่ “ Nature as Source” ด้วยการพัฒนาคลังข้อมูลดิจิทัลเพื่อการบริหารจัดการ การสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการมูลค่าสูง การสร้างนวัตกรรมตลอดจนการจัดการวัตถุดิบเหลือทิ้งจากการผลิตให้เป็นศูนย์ การฟื้นฟูพื้นที่ป่าพื้นที่ทะเลและพื้นที่สีเขียวด้วยนวัตกรรมการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อลดการใช้ลดการสูญเสียและยกระดับคุณภาพน้ำตลอดจนการพัฒนาทักษะด้านความหลากหลายทางชีวภาพและการบริหารจัดการทรัพยากรให้แก่ชุมชนและคนรุ่นใหม่

๔.๒ พัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ด้วยการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ BCG การใช้ STI แบบบูรณาการด้วยกลไกจตุภาคี (เช่น กลไกมหาวิทยาลัยสู่ตำบล อุทยานวิทยาศาสตร์ คลัสเตอร์) การพัฒนาบุคลากร ตลอดจนการพัฒนาตลาดและศักยภาพในการเข้าถึงตลาดด้วยอัตลักษณ์และแพลตฟอร์ม

 ๔.๓ ยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรม BCG ให้สามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืนใน ๔+๑ สาขายุทธศาสตร์ดังนี้

๑) การเกษตรและอาหาร: (๑) ปรับระบบการเกษตรสู่ประสิทธิภาพสูง มาตรฐานสูงและมูลค่าสูงโดยใช้ STI เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการผลิต ผลิตสินค้าเกษตรพรีเมียม เกษตรปลอดภัยและเพิ่มความหลากหลาย (๒) ขับเคลื่อนการเกษตรสู่ SCG แบบบูรณาการเชิงพื้นที่ (Area Based) (๓) แปรรูปสินค้าเกษตรชั้นสูงเป็นอาหารสุขภาพ อาหารทางการแพทย์ สารออกฤทธิ์รวมถึงโปรตีนจากแมลงหรือพืช (๔) นำแพลตฟอล์มดิจิทัลเทคโนโลยีขั้นสูง และระบบอัตโนมัติบริหารจัดการกระบวนการผลิตและการกระจายสินค้า (๕) ปรับปรุงกระบวนการผลิตสู่ระบบการผลิตสีเขียวและการผลิตที่ยั่งยืน ลดการสูญเสียอาหารระหว่างการผลิตและขยะอาหาร (๖) ยกระดับคุณภาพความปลอดภัย และมาตรฐานอาหารท้องถิ่นด้วย food machinery และมาตรฐานการประกอบอาหารที่ดี (๗) สร้างแบรนด์อาหารไทยในตลาดโลกด้วยอัตลักษณ์ และ (๘) ลงทุนและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมอาหารที่ดี

๒) สุขภาพและการแพทย์: (๑) เพิ่มขีดความสามารถของไทยในการผลิตและพัฒนายา วัคซีน และชีววัตถุ (๒) ส่งเสริมบริการทางการแพทย์จีโนมิกส์ (genomics medicine) และผลิตภัณฑ์การรักษาด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced Therapy Medical Products: ATMPs) (๓) เร่งรัดพัฒนาเครื่องมือและวัสดุทางการแพทย์ด้วยกลไกนวัตกรรมแบบวิศวกรรมย้อนกลับ (reverse engineering) (๔) ส่งเสริมการวิจัยทางคลินิก (๕) ส่งเสริมการสร้างตลาดด้วยกลไกขึ้นทะเบียนนวัตกรรม sandbox การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐและปรับรูปแบบจากการจัดซื้อรายปีเป็น multi-year procurement และ (๖) พัฒนาบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ

๓) พลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ: (๑) สร้างโอกาสทางการตลาดแก่ผลิตภัณฑ์ชีวภาพด้วยกลไกการกำหนดราคาคาร์บอน การจัดสรรคาร์บอนเครดิต และการลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด (๒) สร้างเศรษฐกิจให้ชุมชนด้วยการใช้ทรัพยากรด้าน BCG (๓) ส่งเสริมการนำผลผลิตทางการเกษตรส่วนเกินและวัสดุเหลือทิ้งไปสร้างมูลค่าเพิ่ม และ (๔) ใช้นวัตกรรมชีวภาพ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์และสร้างธุรกิจนวัตกรรมแก่ SMEs

๔) การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์: (๑) ผลักดันโมเดลการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ เช่น Happy Model เพื่อกระจายรายได้สู่เมืองรองและมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (๒) ส่งเสริมการท่องเที่ยวยั่งยืนและการท่องเที่ยวสีเขียว (๓) กระจายนักท่องเที่ยวสู่เมืองรองโดยเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรม อัตลักษณ์    การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เชิงเกษตรและเชิงความรู้ (๔) ส่งเสริมการพัฒนาระบบการจ่ายเงินแบบ One Payment System เพื่ออำนวยความสะดวกและรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการใช้จ่ายและ (๕) ส่งเสริมการท่องเที่ยวคุณภาพสูงผ่านการจัดงานประชุมและนิทรรศการ กีฬา และอีเว้นท์ขนาดใหญ่

๕) เศรษฐกิจหมุนเวียน: (๑) ขยายโอกาสในการลงทุนและสร้างตลาดด้วยโมเดลธุรกิจเศรษฐกิจหมุนเวียน (๒) ส่งเสริมงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ (๓) พัฒนาแพลตฟอร์มและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นระบบ (๔) สร้างระบบการบริหารจัดการที่เอื้อต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน และ (๕) พัฒนากำลังคนผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้จากการอบรมหรือหลักสูตร รวมทั้งสร้างความตระหนักในการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

๔.๔ สร้างภูมิคุ้มกันในการตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ด้วยการยกระดับความสามารถของกำลังคนในสาขา BCG การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางด้านคุณภาพ และการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นแนวหน้าเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

๕. มาตรการส่งเสริมการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ๑๓ มาตรการหลัก ได้แก่

         ๕.๑ พัฒนาคลังข้อมูลดิจิทัลของทุนความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม โดยพัฒนาระบบจัดเก็บเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผน อนุรักษ์ ฟื้นฟู และสร้างเศรษฐกิจ BCG เศรษฐกิจชุมชนและจากการท่องเที่ยว

         ๕.๒ เพิ่มพูนทรัพยากรธรรมชาติด้วยการผสานพลังของจตุภาคี โดยส่งเสริมเอกชนในการปลูกป่าและดูแลบ้าทุกประเภทในพื้นที่ของรัฐด้วยกลไก Carbon credit และจัดสรร carbon creclit แก่รัฐและเอกชนในสัดส่วน 90 ต่อ ๔๐ ตลอดจนส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์การสร้างนวัตกรรมระบบบริหารจัดการและการดูแลรักษาด้วย STI

         ๕.๓ พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ BCG โดยเชื่อมโยงอุปสงค์และอุปทานในแต่ละภูมิภาคเพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค พัฒนาสินค้าและบริการ ECG เชื่อมโยงการเกษตรทางเลือกการเกษตรสมัยใหม่ การแปรรูป  การท่องเที่ยว การค้า และการลงทุน ตลอดจนเชื่อมโยงเศรษฐกิจระดับประเทศและเศรษฐกิจโลก

         ๕.๔ ปรับระบบการเกษตรสู่ประสิทธิภาพสูง มาตรฐานสูง และมูลค่าสูง โดยมุ่งสู่เกษตรพรีเมียมเกษตรปลอดภัยด้วยการปรับปรุงพันธุ์ มาตรฐานปัจจัยการผลิตระบบการจัดการฟาร์ม ระบบการจัดเก็บและกระจายสินค้า เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมให้เกษตรกรเข้าถึงองค์ความรู้ พัฒนาระบบเกษตรแบบองค์รวมโดยเชื่อมโยง B C และ G ทั้งจังหวัด โดยมีราชบุรีโมเดลเป็นกรณีตัวอย่างของ Success Story

         ๕.๕ พัฒนาคุณภาพและความปลอดภัยของอาหารริมทางและอาหารท้องถิ่น โดยยกระดับคุณภาพด้วยการพัฒนาอุปกรณ์/เครื่องมือในการปรุงอาหาร (Food Machinery) และมาตรฐานการประกอบอาหารที่ดี

         ๕.๖ สร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ด้วยการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าจากฐานชีวภาพให้มีขั้นนวัตกรรมที่สูงขึ้นโดยเฉพาะสารสกัด สารประกอบฟังก์ชัน อาหารฟังก์ชันเพื่อสุขภาพ ชีวเคมีภัณฑ์ วัสดุชีวภาพ ยา และวัคซีน

         ๕.๗ สร้างตลาดรองรับนวัตกรรมสินค้าและบริการ BCG โดยอาศัยกลไกการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การให้สิทธิประโยชน์แก่การจัดซื้อจัดจ้างของภาคเอกชนและภาคประชาชน การปลดล็อกการซื้อขายพลังงานชุมชน การส่งเสริมฉลาก BCG๔ การผลักดันกลไกกำหนดราคาคาร์บอน (Carbon pricing) เพื่อส่งเสริมความเป็นธรรมในการแข่งขันสำหรับผลิตภัณฑ์วัสดุและเคมีชีวภาพ ตลอดจนพิจารณาจัดเก็บภาษีผู้สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

         ๕.๘ ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนและการท่องเที่ยวสีเขียว ด้วยการใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนและการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ สร้างโมเดลการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่สร้าง cluster การท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดหลักและกลุ่มจังหวัดรอง ตลอดจนพัฒนาระบบการชำระเงิน One Payment System เพื่อจัดทำคลังข้อมูลด้านการท่องเที่ยว

         ๕.๙ ยกระดับสินค้าและบริการ BCG สู่มาตรฐานการผลิตที่ยั่งยืน ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมสีเขียว การเงินสีเขียว (green finance) และระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน

         ๕.๑๐ ยกระดับมาตรฐานสินค้าและบริการ BCG สู่มาตรฐานสากลด้วยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งระบบโดยมุ่งพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการขยายขนาดการผลิต โครงสร้างพื้นฐานด้านคุณภาพเพื่อการวิเคราะห์ทดสอบ รับรองและขึ้นทะเบียนสินค้า BCG (สินค้าเกษตรพรีเมียม เกษตรปลอดภัย สารสกัด ชีวเคมีภัณฑ์ ยา วัคซีน เครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์) ตลอดจนปรับปรุงกฎหมายและระเบียบต่างๆ

         ๕.๑๑ ส่งเสริม Startup ด้าน BCG โดยบ่มเพาะผู้ประกอบการด้วยความรู้ด้านนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีนวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐานภาครัฐ ตลอดจนส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุนและผู้เชี่ยวชาญ

         ๕.๑๒ สร้างและพัฒนากำลังคนรองรับเศรษฐกิจ BCG ในทุกระดับโดย มุ่งพัฒนากลุ่มชุมชนฐานราก กลุ่ม SMEs กลุ่ม startup และกลุ่มผู้ประกอบการเทคโนโลยี ตลอดจนกลุ่มผู้พัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง

         ๕.๑๓ เชื่อมโยงกับสากลในทุกมิติ ทั้งการพัฒนาองค์ความรู้ การดึงดูดบุคลากร การค้า และการลงทุน โดยสร้างและพัฒนาเครือข่ายวิจัย การค้า และการลงทุนทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และโลก ตลอดจนดึงดูดผู้เชี่ยวชาญและนักลงทุนจากต่างประเทศด้วยการให้สิทธิประโยชน์และการสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสม เช่น กลไก Smart Visa