ธุรกิจ | Business
ธุรกิจ | Business
วันที่นำเข้าข้อมูล 5 เม.ย. 2556
วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565
นาง วาสนา มุทุตานนท์ รองเลขาธิการ BOI ได้นำคณะซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจาก BOI สถาบันวิจัยเศรษฐกิจและการคลัง และ สคต. ฯ กรุงไคโร เดินทางไปสำรวจโอกาสการลงทุน และตลาดที่ประเทศอัลจีเรีย ระหว่างวันที่ 1-4 ก.ย. 2555 และโมร็อกโกระหว่างวันที่ 5-10 ก.ย. 2555
สอท. ขอสรุปผลการเยือนโมร็อกโก ดังนี้
2.1 การค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับโมร็อกโกยังมีอยู่น้อย และมีอุปสรรคค่อนข้างมาก โดยเฉพาะด้านระยะทาง และข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของทั้งสองประเทศยังไม่เป็นที่แพร่หลายระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ
2.2 การลงนามใน MOU เกี่ยวกับการคุ้มครองการค้า และเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีซ้อน รวมถึงการมี JC ระหว่างกันน่าจะช่วยให้การค้า และการลงทุนระหว่างทั้งสองประเทศมีมากขึ้น
2.3 สาขาที่ภาคธุรกิจของโมร็อกโกเห็นว่าไทยน่าจะสามารถเข้ามาลงทุนในโมร็อกโกได้คือ การแปรรูปฟอสเฟต และภาคการท่องเที่ยว โดยขณะนี้ โมร็อกโกพยายามที่จะส่งเสริมภาคการท่องเที่ยวของประเทศอย่างแข็งขัน มีการเข้ามาลงทุนโดยกลุ่มทุนต่างชาติในธุรกิจท่องเที่ยวมากขึ้น
2.4 ธุรกิจที่ต่างชาติเข้ามาลงทุนในโมร็อกโก ได้แก่ ธุรกิจชิ้นส่วนรถยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องบิน (เป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูงมาก) การท่องเที่ยว การทอผ้าและเครื่องนุ่งห่ม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยชาติที่เข้ามาลงทุนได้แก่ ฝรั่งเศส สเปน และประเทศตะวันออกกลาง นอกจากนี้ เกาหลี ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และแคนาดา (บอมบาดีเยร์)ก็ได้เข้ามาลงทุนในโมร็อกโกมากขึ้น โดยผู้ลงทุนใช้โมร็อกโกเป็นฐานในการส่งออกไปสู่ยุโรป และประเทศในแอฟริกา ซึ่งโมร็อกโกมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นอยู่
2.5 ขณะนี้ โมร็อกโกนำเข้าสินค้าจากจีนมากขึ้น โดยเป็นประเทศที่ส่งสินค้าไปโมร็อกโกเป็นอันดับ 3 โดยร้อยละ 30 เป็นผลิตภัณฑ์อาหาร
2.6 กฎระเบียบเกี่ยวกับการลงทุนของโมร็อกโกค่อนข้างเสรี โดยผู้ลงทุนสามารถลงทุนได้ 100% ไม่จำเป็นต้องมีผู้ร่วมทุนท้องถิ่น และสามารถลงทุนได้เกือบทุกสาขา ยกเว้นการซื้อที่ดินการเกษตร และการนำเข้า/ส่งออก สามารถทำได้ง่ายไม่มีกฎระเบียบยุ่งยาก
2.7 ทั้งภาครัฐ และเอกชนเห็นพ้องว่า โมร็อกโกได้รับผลกระทบบ้างจากวิกฤติเศรษฐกิจยุโรป โดยที่ได้รับผลกระทบโดยตรงได้แก่ ภาคการส่งออก และราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่สูงขึ้น อย่างไรก็ดี ทางการโมร็อกโกได้มีออกมาตรการต่างๆ เพื่อลดการพึ่งพิงทางเศรษฐกิจจากยุโรปมาระยะหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว และได้พยายามหาตลาด และคู่ค้าใหม่ เพื่อเป็นทางเลือกทั้งในแง่เป็นตลาด แหล่งวัตถุดิบ และแหล่งทุนมากขึ้นโดยเฉพาะกับสหรัฐฯ และประเทศในเอเชีย จึงทำให้โมร็อกโกสามารถที่จะควบคุมผลกระทบจากวิกฤติการณ์ครั้งนี้ได้ ทั้งนี้ ภาคการเงินของโมร็อกโกแทบไม่ได้กระทบจากวิกฤติการณ์ครั้งนี้
2.8 ออท. ได้นำคณะเข้าพบกับ รมต. แรงงาน ซึ่งได้สรุปสถานะแรงงานโมร็อกโก และการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อรองรับการลงทุนจากต่างชาติ
3. BOI จะจัดการสัมมนาแจ้งผลการเดินทางในครั้งนี้ให้กับภาคเอกชน เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับโอกาส และลู่ทางการตลาด และการลงทุนในอัลจีเรียและโมร็อกโก ทั้งนี้ หากเป็นไปได้ กต. ควรส่งผู้เข้าร่วมรับฟัง ก็น่าจะเป็นประโยชน์
Ouvert du lundi au vendredi de
09h00 – 17h00